หลายคนคงเคยสงสัยว่าเจ้า Virus, Worm, Spyware, Trojan, Malware มีความแตกต่างกันอย่างไร ต่อไปนี้เราจะมาลองทำความรู้จักกับพวกมันกันสักนิด...
Virus = แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมันเองเข้าไป มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยไฟล์พาหะ สิ่งที่มันทำคือสร้างความเสียหายให้กับไฟล์
Worm = คัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมลล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ มักจะไม่แพร่เชื่อไปติดไฟล์อื่น สิ่งที่มันทำคือมักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครือข่าย
Trojan = ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวน์โหลดเอาไปใส่เครื่องเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ สิ่งที่มันทำคือเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่องที่ติดเชื้อจากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ และโทรจันยังมีอีกหลายชนิด
Spyware = ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองหรืออาศัยช่องโหว่ของ web browser ในการติดตั้งตัวเองลงในเครื่องเหยื่อ สิ่งที่มันทำคือรบกวนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
Hybrid malware/Blended Threats = คือ malware ที่รวมความสามารถของ virus, worm, trojan, spyware เข้าไว้ด้วยกัน
Phishing = เป็นเทคนิคการทำ social engineer โดยใช้อีเมลล์เพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินบนอินเตอร์เน็ตเช่น บัตรเครดิตหรือพวก online bank account
Zombie Network = เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ จากทั่วโลกที่ตกเป็นเหยื่อของ worm, trojan และ malware อย่างอื่น (compromised machine) ซึ่งจะถูก attacker/hacker ใช้เป็นฐานปฏิบัติการในการส่ง spam mail, phishing, DoS หรือเอาไว้เก็บไฟล์หรือซอฟแวร์ที่ผิดกฎหมาย
Malware ย่อมาจาก Malicious Software หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย หรือเป็นคำที่ใช้เรียกโปรแกรมที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อ ระบบคอมพิวเตอร์ทุกชนิดแบบรวมๆ โปรแกรมพวกนี้ก็เช่น virus, worm, trojan, spyware, keylogger, hack tool, dialer, phishing, toolbar, BHO, etc
แต่เนื่องจาก virus คือ malware ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไป ในทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่าย ก็จะใช้คำว่า virus แทนคำว่า malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง malware แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน
คำว่าไวรัส (virus) ในปัจจุบันนี้ถูกใช้แบบไม่ค่อยจะถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะความเคยชินหรืออะไรก็ตามแต่ (ผมเองก็เป็น) มันกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้คำว่า virus แทน worm, trojan, adware, spyware, malicious code, etc. ใช้เรียกแทนยังไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเข้าใจว่า virus คือ malicious software ทั้งหมดที่บอกไปนั่น อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด แม้กระทั่งในร่างกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ก็ยัง มีการเสนอขอให้แก้ไขคำว่า virus โดยเปลี่ยนไปใช้คำว่า malware แทน เพราะถ้าไม่งั้นแล้วคนที่ใช้ worm, trojan โจมตีคนอื่นอาจจะไม่มีความผิด เพราะ worm, trojan ไม่ใช่ virus
ที่ถูกต้องใช้คำว่ามาลแวร์ ซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า malware (malicious software) อันหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ถูกออกแบบมาให้มีจุดประสงค์ร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย โปรแกรมเหล่านี้ก็เช่น classic virus, worm, trojan, adware, spyware, toolbar, BHO, hijacker, downloader, phishing, exploit malware รวมไปถึง zero-day attack, zombie network และอื่นๆ
วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553
Cracker กับ Hacker คืออะไร?
มีบทความหลายบทความที่เขียนเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง hacker และ cracker
ผู้เขียนมักจะ พยายามที่จะแก้ไขความเข้าใจผิดสาธารณชน
บทนี้จะช่วยให้ประเด็นนี้มีความกระจ่างยิ่งขึ้น
หลายปีมาแล้วที่สื่อของอเมริกันนำความหมายของคำว่า hacker ไปใช้ผิด
แทนที่ความหมายของ คำว่า cracker ดังนั้นสาธารณชนชาวอเมริกันจึงเข้าใจว่า
hacker คือคนที่บุกรุกเข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์
ซึ่งไม่ถูกต้องและเป็นผลเสียต่อ hacker ที่มีความสามารถพิเศษ
มีบททดสอบดั้งเดิมที่ตัดสินความแตกต่างระหว่าง hacker และ cracker
อันดับแรกจะ เสนอถึงคำจำกัดความ ดังต่อไปนี้
hacker
หมายถึงผู้ที่มีความสนใจอย่างแรงกล้าในการทำงานอันลึกลับซับซัอนของการทำงาน
ของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็ตาม ส่วนมากแล้ว hacker จะเป็นโปรแกรมเมอร์ ดังนั้น hacker
จึงได้รับความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการและprogramming languages
พวกเขาอาจรู้จุดอ่อนภายในระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้น hacker
ยังคงค้นหาความรู้เพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง แบ่งปันความรู้ที่พวกเขาค้นพบ
และไม่เคยคิดทำลายข้อมูลโดยมีเจตนา
cracker
คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล
ด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญ
ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่าง น้อย
ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ cracker
มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ คำจำกัดความเหล่านี้ถูกต้องและอาจใช้โดยทั่วไปได้
อย่างไรก็ตามยังมีบททดสอบอื่นอีก เป็นบททดสอบทางกฏหมาย
โดยการใช้เหตุผลทางกฏหมายเข้ามาใช้ในสมการ คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง
hacker และ cracker บททดสอบนี้ไม่ต้องการความรู้ทางกฏหมายเพิ่มเติมแต่อย่าง
ใด มันถูกนำมาใช้ง่าย ๆ โดยการสืบสวนเช่นเดียวกับ "men rea"
ผู้เขียนมักจะ พยายามที่จะแก้ไขความเข้าใจผิดสาธารณชน
บทนี้จะช่วยให้ประเด็นนี้มีความกระจ่างยิ่งขึ้น
หลายปีมาแล้วที่สื่อของอเมริกันนำความหมายของคำว่า hacker ไปใช้ผิด
แทนที่ความหมายของ คำว่า cracker ดังนั้นสาธารณชนชาวอเมริกันจึงเข้าใจว่า
hacker คือคนที่บุกรุกเข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์
ซึ่งไม่ถูกต้องและเป็นผลเสียต่อ hacker ที่มีความสามารถพิเศษ
มีบททดสอบดั้งเดิมที่ตัดสินความแตกต่างระหว่าง hacker และ cracker
อันดับแรกจะ เสนอถึงคำจำกัดความ ดังต่อไปนี้
hacker
หมายถึงผู้ที่มีความสนใจอย่างแรงกล้าในการทำงานอันลึกลับซับซัอนของการทำงาน
ของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็ตาม ส่วนมากแล้ว hacker จะเป็นโปรแกรมเมอร์ ดังนั้น hacker
จึงได้รับความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการและprogramming languages
พวกเขาอาจรู้จุดอ่อนภายในระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้น hacker
ยังคงค้นหาความรู้เพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง แบ่งปันความรู้ที่พวกเขาค้นพบ
และไม่เคยคิดทำลายข้อมูลโดยมีเจตนา
cracker
คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล
ด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญ
ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่าง น้อย
ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ cracker
มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ คำจำกัดความเหล่านี้ถูกต้องและอาจใช้โดยทั่วไปได้
อย่างไรก็ตามยังมีบททดสอบอื่นอีก เป็นบททดสอบทางกฏหมาย
โดยการใช้เหตุผลทางกฏหมายเข้ามาใช้ในสมการ คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง
hacker และ cracker บททดสอบนี้ไม่ต้องการความรู้ทางกฏหมายเพิ่มเติมแต่อย่าง
ใด มันถูกนำมาใช้ง่าย ๆ โดยการสืบสวนเช่นเดียวกับ "men rea"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)