วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่าง Virus, Worm, Spyware, Trojan, Malware

หลายคนคงเคยสงสัยว่าเจ้า Virus, Worm, Spyware, Trojan, Malware มีความแตกต่างกันอย่างไร ต่อไปนี้เราจะมาลองทำความรู้จักกับพวกมันกันสักนิด...

Virus = แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมันเองเข้าไป มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยไฟล์พาหะ สิ่งที่มันทำคือสร้างความเสียหายให้กับไฟล์

Worm = คัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมลล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ มักจะไม่แพร่เชื่อไปติดไฟล์อื่น สิ่งที่มันทำคือมักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครือข่าย

Trojan = ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวน์โหลดเอาไปใส่เครื่องเองหรือด้วยวิธีอื่นๆ สิ่งที่มันทำคือเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่องที่ติดเชื้อจากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ และโทรจันยังมีอีกหลายชนิด

Spyware = ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองหรืออาศัยช่องโหว่ของ web browser ในการติดตั้งตัวเองลงในเครื่องเหยื่อ สิ่งที่มันทำคือรบกวนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

Hybrid malware/Blended Threats = คือ malware ที่รวมความสามารถของ virus, worm, trojan, spyware เข้าไว้ด้วยกัน

Phishing = เป็นเทคนิคการทำ social engineer โดยใช้อีเมลล์เพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินบนอินเตอร์เน็ตเช่น บัตรเครดิตหรือพวก online bank account

Zombie Network = เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ จากทั่วโลกที่ตกเป็นเหยื่อของ worm, trojan และ malware อย่างอื่น (compromised machine) ซึ่งจะถูก attacker/hacker ใช้เป็นฐานปฏิบัติการในการส่ง spam mail, phishing, DoS หรือเอาไว้เก็บไฟล์หรือซอฟแวร์ที่ผิดกฎหมาย

Malware ย่อมาจาก Malicious Software หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย หรือเป็นคำที่ใช้เรียกโปรแกรมที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อ ระบบคอมพิวเตอร์ทุกชนิดแบบรวมๆ โปรแกรมพวกนี้ก็เช่น virus, worm, trojan, spyware, keylogger, hack tool, dialer, phishing, toolbar, BHO, etc

แต่เนื่องจาก virus คือ malware ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไป ในทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่าย ก็จะใช้คำว่า virus แทนคำว่า malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง malware แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

คำว่าไวรัส (virus) ในปัจจุบันนี้ถูกใช้แบบไม่ค่อยจะถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะความเคยชินหรืออะไรก็ตามแต่ (ผมเองก็เป็น) มันกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้คำว่า virus แทน worm, trojan, adware, spyware, malicious code, etc. ใช้เรียกแทนยังไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเข้าใจว่า virus คือ malicious software ทั้งหมดที่บอกไปนั่น อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด แม้กระทั่งในร่างกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ก็ยัง มีการเสนอขอให้แก้ไขคำว่า virus โดยเปลี่ยนไปใช้คำว่า malware แทน เพราะถ้าไม่งั้นแล้วคนที่ใช้ worm, trojan โจมตีคนอื่นอาจจะไม่มีความผิด เพราะ worm, trojan ไม่ใช่ virus

ที่ถูกต้องใช้คำว่ามาลแวร์ ซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า malware (malicious software) อันหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ถูกออกแบบมาให้มีจุดประสงค์ร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย โปรแกรมเหล่านี้ก็เช่น classic virus, worm, trojan, adware, spyware, toolbar, BHO, hijacker, downloader, phishing, exploit malware รวมไปถึง zero-day attack, zombie network และอื่นๆ

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Cracker กับ Hacker คืออะไร?

มีบทความหลายบทความที่เขียนเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง hacker และ cracker
ผู้เขียนมักจะ พยายามที่จะแก้ไขความเข้าใจผิดสาธารณชน
บทนี้จะช่วยให้ประเด็นนี้มีความกระจ่างยิ่งขึ้น
หลายปีมาแล้วที่สื่อของอเมริกันนำความหมายของคำว่า hacker ไปใช้ผิด
แทนที่ความหมายของ คำว่า cracker ดังนั้นสาธารณชนชาวอเมริกันจึงเข้าใจว่า
hacker คือคนที่บุกรุกเข้าไปในระบบ คอมพิวเตอร์
ซึ่งไม่ถูกต้องและเป็นผลเสียต่อ hacker ที่มีความสามารถพิเศษ
มีบททดสอบดั้งเดิมที่ตัดสินความแตกต่างระหว่าง hacker และ cracker
อันดับแรกจะ เสนอถึงคำจำกัดความ ดังต่อไปนี้


hacker
หมายถึงผู้ที่มีความสนใจอย่างแรงกล้าในการทำงานอันลึกลับซับซัอนของการทำงาน
ของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็ตาม ส่วนมากแล้ว hacker จะเป็นโปรแกรมเมอร์ ดังนั้น hacker
จึงได้รับความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการและprogramming languages
พวกเขาอาจรู้จุดอ่อนภายในระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้น hacker
ยังคงค้นหาความรู้เพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง แบ่งปันความรู้ที่พวกเขาค้นพบ
และไม่เคยคิดทำลายข้อมูลโดยมีเจตนา


cracker
คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล
ด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญ
ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่าง น้อย
ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ cracker
มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ คำจำกัดความเหล่านี้ถูกต้องและอาจใช้โดยทั่วไปได้
อย่างไรก็ตามยังมีบททดสอบอื่นอีก เป็นบททดสอบทางกฏหมาย
โดยการใช้เหตุผลทางกฏหมายเข้ามาใช้ในสมการ คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง
hacker และ cracker บททดสอบนี้ไม่ต้องการความรู้ทางกฏหมายเพิ่มเติมแต่อย่าง
ใด มันถูกนำมาใช้ง่าย ๆ โดยการสืบสวนเช่นเดียวกับ "men rea"

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การถูกแฮค 3 วิธี

ผมขอใช้คำว่า ขู่ให้กลัว เพราะเรื่องนี้จะไม่กระทบบางท่านที่ไม่สนใจ แต่อาจกระทบบางท่านอย่างชัดเจน เพราะจะบอกว่าระบบ Internet ทุกวันนี้มีจุดบกพร่อง ที่ใหญ่มาก ตอนผมเริ่มศึกษาเรื่องที่ระบบตนเองถูก Hack ก็ต้องตกใจว่าทำไม ระบบส่วนในปัจจุบัน จึงมีช่องโหว่ที่ใหญ่ขนาดนี้ แล้วทำไมผู้คนที่ทราบ จึงไม่ออกมาประกาศกันอย่างจริงจัง ว่าสิ่งที่ผมกำลังจะเขียนต่อไปนี้ เกิดขึ้นได้ในทุกองค์กร และต้องป้องกัน มิใช่ปลอดให้เกิดขึ้นเช่นนี้
วิธีที่ 1. Sniffer : ความเดือดร้อนโดยตรงที่ผู้ใช้ได้รับ และผมช่วยไม่ได้
ทุกตัวอักษรที่ท่านพิมพ์ผ่าน browser จะถูก Hacker มองเห็นหมด ถ้าเขาคิดจะทำ และอยู่ในระบบ LAN วงเดียวกับท่าน และเว็บที่ท่านส่งข้อมูลไม่มีบริการ SSL รองรับ ซึ่งมีเว็บมากกว่า 80% ที่ยังไม่มี ssl ไว้บริการ (ตัวเลขนี้ประมาณ เพราะเห็นบริการ ssl น้อยมาก ถ้าไม่ใช้ e-commerce)
Netscape mail, Outlook, Eudora ที่ใช้บริการ POP3 ทุกครั้งที่ท่านเปิด get mail ใหม่ Hacker จะสามารถเห็นรหัสผ่าน และข้อมูลใน mail ทุกฉบับที่ท่านได้รับ ซึ่งมักเป็นคนในระบบเครือข่ายของท่าน แต่คนนอกก็ทำได้ ถ้า Server ที่ท่านเปิดบริการ ถูกใช้เป็นเครื่องมือ hack คนในองค์กรซะเอง
Telnet เป็นระบบที่ผมทดสอบ hack ตัวแรก ทุกครั้งที่ท่านพิมพ์อักษรใน telnet hacker จะเห็นหมด และเห็นทีละตัวอักษร ไม่ได้เห็นเป็นชุด ๆ แบบข้อมูลใน Browser
เกือบทุกฟรี e-mail ในไทย ยังไม่มี ssl ดังนั้นทันทีที่ท่าน พิมพ์ username และ password hacker ในร้าน net จะจับข้อมูลของท่านได้หมดว่าใช้อะไร
hotmail.com หรือ yahoo.com จะปลอดภัยเฉพาะหน้าแรก ส่วนหน้าที่เหลือ hacker จะเห็นหมด และหน้าแรกจะปลอดภัย ต่อเมื่อท่านเลือกที่จะรักษาความปลอดภัยเท่านั้น
Sniffer คือโปรแกรมที่ hacker ใช้จับ package ที่ส่งกันไปมาใน Internet เมื่อก่อนผมเข้าใจว่าต้อง run เฉพาะใน server ประเภท unix เท่านั้น แต่คุณประเสริฐ ไปหามาให้ผมได้ลอง ซึ่งสามารถใช้งานบน windows และมี option ให้เลือกจับ switch ได้ด้วย (จับ switch ผมยังไม่ได้ทดสอบ เพราะในระบบไม่มีใช้)
เช่น นักเรียนประถม 4 ที่มีพี่เรียนในมหาวิทยาลัย แนะนำให้นำโปรแกรมขนาด 30 Mb ใช้เวลา install บน windows แบบ click อย่างเดียว ไม่ถึง 10 นาที ไป install ในเครื่องที่โรงเรียน โปรแกรมนี้สามารถเลือกจับเป็นเครื่องได้ ว่าต้องการจับเครื่องใด หรือ switch ตัวใด ทันทีที่ครูใช้ telnet เข้าไปใน server เครื่องใดก็ตาม เด็กป.4 คนนั้นก็จะทราบรหัสผ่าน su ได้ทันที .. ต่อจากนั้นก็แล้วแต่โชคชะตาของ server หละครับ (ตัวอย่างครับ แค่ตัวอย่าง)
ถึงแม้ sniffer จะป้องกันยาก แต่ก็ป้องกันได้ด้วย ssh และ ssl ท่านสามารถหารายละเอียดได้จากเจ้าของระบบปฏิบัติการ ว่ามีโปรแกรมสนับสนุน 2 มาตรฐานดังกล่าวอย่างไร ในส่วนของ ssl ที่ผู้บริการไม่ค่อยนำมาใช้ เพราะโดยปกติ ต้องเสียเงินซื้อ
พบโปรแกรม ของ Cain & Abel v2.9 เป็น Sniffer ที่เพื่อนผมทดสอบ และก็ทำงานได้จริงในเครือข่ายที่ใช้ Hub [Download. 5 MB]
ผู้ดูแลอาจนำไปทดสอบระบบของตนเองว่าปลอดภัยหรือไม่ .. แต่เป็นดาบสองคม ถ้าผู้ไม่ประสงค์ดีนำไปใช้ในเครือข่ายที่ไม่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย
.
วิธีที่ 2. Frontal attack
โจมตีแบบตรง ๆ ให้ Server ล้ม ซึ่งเคยมีข่าวว่า hacker ได้ใช้ server ทั่วโลกที่ยึดได้ ส่งคำสั่งโจมตีไปที่ yahoo.com จนทำให้ server ของเขา ต้องปิดบริการไปชั่วขณะ นี่เป็นเพียง case หนึ่ง เพราะมีวิธีอีกมากมายที่จะทำให้ server หยุดบริการไป แต่ปัญหานี้อาจไม่ร้ายแรงสำหรับผู้ที่ทำ server ที่ไม่เป็นธุรกิจ เพราะหลังจากล่มไป ก็ boot ใหม่ หรือเข้าไปหาสาเหตุ และก็แก้ไขไปตามนั้น ก็สามารถกลับมาบริการได้เหมือนเดิม เพราะผู้ที่โจมตีจะต้องมีเครื่อง และก็ต้องใช้เครื่องให้ทำงานหนัก แต่ผมการโจมตีคือการก่อกวน ไม่ได้เป็นการยึด site ผลการโจมตีแบบนี้ แค่ก่อความรำคาญเท่านั้น
วิธีที่ 3. Exploiting a security bug or loophole
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับ sysadmin เพราะระบบทุกระบบที่มีอยู่จะมีตั้งแต่ตอบติดตั้งระบบเสร็จ ทันที่ที่ติดตั้งเสร็จ ระบบก็มีจุดบกพร่องที่จะให้ hacker เข้ามาในระบบในฐานะ superuser ได้ ผู้ดูแลจะต้องหาโปรแกรมมา update ให้ทันสมัย เมื่อสมบูรณ์แล้ว ก็ต้องหมั่นเข้าไปอ่านข่าวใน internet เช่นที่ securityfocus.com เพราะถ้า hacker ทราบวิธีเจาะระบบ ซึ่งเป็นวิธีใหม่ที่พบกันเกือบทุกเดือน ก่อนท่าน update ระบบของท่านก็จะถูก hack ได้ทันที มีข่าวอยู่บ่อย ที่ระบบใน server ระดับโลกถูก hack เช่น apache.org, sourceforge.net, isinthai.com เป็นต้น โดยเฉพาะ isinthai.com ผมเขียนเหตุการเกี่ยวกับการถูก hack ไว้ 10 กว่าครั้ง ซึ่งอาจถึง 20 ในไม่ช้าก็ได้ เพราะปัญหาของการไม่ upgrade ระบบให้ทันกับความรู้ของ hacker

วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm) คืออะไร ?

หนอน (Worms) ในอีกความหมายหนึ่ง เป็นสิ่งที่อันตรยต่อระบบมาก (สามารถทำความเสียหายต่อระบบได้จากภายใน เหมือนกับหนอนที่กัดกิน ผลไม้จากภายใน) โดยทั่วไปก็จะคล้ายกับไวรัสคอมพิวเตอร์ และด้วยการอาศัยพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ยุค IT ในการแพร่กระจายตัวเองไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หนอนร้าย เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอาศัยระบบเน็ตเวิร์ค (e-Mail) ซึ่งการแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยตัวของมันเองอย่างรวดเร็ว และรุนแรงกว่าไวรัสมาก

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

งานชิ้นที่ 1

วิชา ความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network Security)

กลุ่มที่ 3 เรื่อง Virus , Worm , Trojan , Hoax , Spyware

รายชื่อสมาชิก

1.นายจิรสิน กิตานุวัฒน์
2.นายพงศธร พุทธิวงศ์
3.นายศุภกร มีเดชาประเสริฐ
4.นายวรศิษฐ์ สมเหนือ

ความปลอดภัยคอมพิวเตอร์คืออะไร ?

ความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและตรวจสอบการเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รบอนุญาต ขั้นตอนการป้องกันจะช่วยให้ผู้ที่ใช้งานสกัดกั้นไม่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกเข้าใช้งานโดยผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ (นิยมเรียกว่า ผู้บุกรุก) ส่วนการตรวจสอบจะทำให้ทราบได้ว่า มีใครกำลังพยายามที่จะบุกรุกเข้ามาในระบบหรือไม่ การบุกรุกสำเร็จหรือไม่ และผู้บุกรุกทำอะไรกับระบบ

~ Computer Network Security ~

สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์